วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

ซากดึกดำบรรพ์ กุญแจไขสู่อดีต

ฟอสซิล (fossil)
หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องการขุดพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) มาบ้างแล้ว ซึ่งฟอสซิลคือสิ่งที่นักโบราณคดีนำมาใช้ในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ในอดีต เพื่อบอกเล่าเรื่องราว และประวัติศาสตร์ของโลกที่เราอาศัยอยู่
ซากดึกดำบรรพ์คือซากพืชหรือสัตว์ที่ถูกทับถมอยู่ในชั้นหินในช่วงเวลาต่างๆ ซากดึกดำบรรพ์ในหินจะบ่งบอกประเภท และชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ ณ ที่แห่งนั้นขณะที่เกิดการสะสมของตะกอน เมื่อนักโบราณคดีขุดพบซากดึกดำบรรพ์ ก็จะนำซากดึกดำบรรพ์ที่ขุดพบมาศึกษาว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใด ประโยชน์ของการศึกษาซากดึกดำบรรพ์คือ ทำให้เราทราบประวัติความเป็นมาของโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและเป็นหลักฐานในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก เช่น ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศในขณะที่สัตว์เหล่านี้มีชีวิตอยู่ว่ามีสภาพภูมิประเทศอย่างไร เช่น อาจจะเป็นหนองน้ำ เป็นทุ่งหญ้าแห้งแล้ง เป็นต้น
ซากพืชซากสัตว์เหล่านี้เมื่อทับถมกันเป็นเวลานานก็จะกลายเป็นปิโตรเลียม ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างชั้นหินในพื้นที่ต่างกัน เช่น ถ้าพบซากดึกดำบรรพ์กลุ่มเดียวกัน ชนิดเดียวกัน แสดงว่าชั้นหินที่พบซากดึกดำบรรพ์ แม้ว่าจะอยู่ต่างพื้นที่กัน แต่เกิดการสะสมตัวเป็นชั้นตะกอนในแอ่งสะสมตัว ในช่วงเดียวกัน ทำให้นักธรณีวิทยาสามารถหาอายุเปรียบเทียบชั้นหินได้
TIPS
ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติมาเป็นเวลาหลายล้านปีแล้ว พิสูจน์ได้จากข้อมูลการศึกษาค้นพบฟอสซิลของไดโนเสาร์ในแถบจังหวัดภาคอีสานของไทย ที่ผ่านมานักธรณีวิทยาสามารถค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่มีอายุมากกว่า 200 ล้านปี หลายซากด้วยกัน ส่วนใหญ่เป็นไดโนเสาร์ในยุคครีเตเชียสหรือช่วงประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว
 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : วิทยาศาสตร์รอบตัว(จาก สสวท.)
ภาพ : Photos.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น