วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

วิทยาศาสตร์น่ารู้

กำหนดเพศได้ด้วยอุณหภูมิ
   นักชีววิทยาชาวอเมริกันได้ค้นพบความลับของวงจรชีวิตของจระเข้แอลลิเกเตอร์  คือแอลลิเกเตอร์
สามารถกำหนดเพศของลูกน้อยได้ด้วยอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว  หากไข่ของมันถูกเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ
กว่า 86 องศาฟาเรนไฮต์ ในระหว่างสัปดาห์ที่ 2 และ 3 ของการฟักไข่  ไข่เหล่านี้จะฟักออกเป็นตัวเมียทั้งหมด
และไข่ที่ถูกเก็บไว้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 94 องศาฟาเรนไฮต์ จะฟักออกมาเป็นตัวผู้ทั้งหมด ส่วนไข่ที่เก็บไว้ที่
อุณหภูมิระหว่าง 86-94 องศาฟาเรนไฮต์ จะฟักเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมีย
นักวิจัยได้เริ่มสังเกตเห็นความลับนี้จากการเฝ้าดู เขาพบว่าจระเข้ที่วางไข่ในหนองบึงเฉอะแฉะเย็น
ชื้น ไข่จะฟักเป็นตัวเมีย ส่วนไข่ที่วางบนฝั่งที่มีแสงอาทิตย์ส่องถึงจะออกมาเป็นตัวผู้ ปริศนาที่ว่าทำไมอุณหภูมิ
จึงกำหนดเพศได้ นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าขณะที่อุณหภูมิสูนั้นตัวอ่อนจะใช้ไข่แดงหมดไปอย่างรวดเร็วจน
เหลืออาหารน้อยไม่เพียงพอแก่การพัฒนาไข่เป็นเพศเมีย
                                    

ประโยชน์ของฟ้าแลบ
สถานีกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกาประมาณไว้ว่า  ในระยะเวลา 1 ปี ฟ้าแลบทำให้ไนโตรเจน
ตกลงมายังพื้นดิน 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ เมื่อคิดทั้งโลกจะมีไนโตรเจนตกลงมายังโลกถึง 770 ล้านตันต่อปี
ในระหว่างที่เกิดฟ้าแลบ  พลังงานบางส่วนจากฟ้าแลบจะทำให้ไนโตรเจนทำปฏิกิริยาเคมีกับ
ออกซิเจนเกิดเป็นสารประกอบไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO) สารประกอบนี้มีไนโตรเจน 1 อะตอม และออกซิเจน
1 อะตอม มันจะดูดออกซิเจนอีก 1 อะตอมเพิ่มเข้าไป  และกลายเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
ซึ่งละลายได้ในน้ำฝนกลายเป็นกรดดินประสิว (HNO3)  ตกลงมายังพื้นโลก  เมื่อกรดดินประสิวรวมตัวกับสาร
เมื่อกรดดินประสิวรวมตัวกับสารเคมีอื่น ๆ จะได้เป็นเกลือไนเตรตซึ่งเป็นอาหารที่ดีของพืช
ดังนั้น  ถึงคนขวัญอ่อนจะไม่ค่อยชอบฟ้าแลบนัก  แต่ก็ควรทำใจสักนิดให้ชอบสักหน่อยเพราะมีผล
ดีต่อชาวนาที่ผลิตพืชผักผลไม้มาให้เรากินอยู่ทุก ๆ วัน
                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น